ประเภทของพลาสติก จากคุณสมบัติความร้อน

ประเภทของพลาสติก โดยดูจากคุณสมบัติความร้อน

พลาสติกคือ วัสดุที่ถูกสร้างขึ้น จากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกูลเรียงต่อกันซ้ำๆ ต่อกันเป็นสายยาวๆ โดยสารไฮโดรคาร์บอนมาจาก ปิโตรเลียม น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญ

ในบางครั้งเราจะพบว่า จะมีการเรียก พลาสติก ว่า “โพลิเมอร์” แต่จริงๆแล้ว พลาสติก คือส่วนผสมระหว่าง โพลิเมอร์และสารเติมแต่ง

พลาสติก ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย และอยู่รอบๆตัวเรา เช่น ถุงใส่ถุง , ของเล่น , เครื่องใช้สำนักงาน , เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ , กล่องใส่อาหาร ฯลฯ


การแบ่งประเภทของพลาสติก ถ้าแบ่งโดยดูจาก คุณสมบัติความร้อน จะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

polymer ประเภทนี้ จะมีโครงสร้างโมเลกุล เป็นแบบเส้นตรง หรือ แบบกิ่งสั้นๆ

เมื่อได้รับความร้อน : จะอ่อนตัวเป็นของเหลว

เมื่อเย็นตัว : จะแข็งตัว

เมื่อเปลียนจากร้อนเป็นเย็น หรือเย็นเป็นร้อน : คุณสมบัติทางเคมีหรือกายภาพ จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

การขึ้นรูปพลาสติกประเภทนี้ : ต้องฉีดขณะอ่อนตัวเป็นของเหลวไหลด้วยความร้อนและแรงดัน เข้าไปในแม่แบบที่ทำไว้ จะได้รูปร่างลักษณะตามต้องการ หลังจากที่ไหลจนเต็มแม่พิมพ์และถูกทำให้เย็นตัว

การถอดจากแม่แบบ : รอให้เย็น จากนั้นจึงถอดจากแม่พิมพ์

การรีไซเคิล : บดและหลอมด้วยความร้อน แล้วนำไปขึ้นรูปใหม่

ข้อเสียของพลาสติกประเภทนี้ : วัสดุที่ได้จากพลาสติกนี้ จะได้สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เช่น ขวดน้ำดื่มต่างๆ

2. เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting)

polymer ประเภทนี้ จะมีโครงสร้างโมเลกุล เป็นแบบร่างแห ทำให้จะขึ้นรูปได้ในการหลอมเหลวในครั้งแรกเท่านั้น

การขึ้นรูปพลาสติกประเภทนี้ : ต้องทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันเพียงบางส่วน แล้วจึงฉีดขณะอ่อนตัวเป็นของเหลวไหลด้วยความร้อนและแรงดัน เข้าไปในแม่แบบที่ทำไว้โดยคงอุณหภูมิไว้ที่ 200-300 องศาเซลเซียส

การถอดจากแม่แบบ : ถอดจากแม่พิมพ์ได้เลย ไม่ต้องรอให้เย็น

การรีไซเคิล : ไม่สามารถทำได้

ข้อเสียของพลาสติกประเภทนี้ : วัสดุที่ได้จากพลาสติกนี้ เมื่อให้ความร้อนมากเกินไป จะสลายตัวหรือไหม้ โดยไม่เกิดการหลอมเหลว เช่น เบคเคอไลต์ และเมลามีน

ข้อสังเกตุ : การให้ความร้อนกับพลาสติกประเภทนี้ จะทำให้แข็งขึ้น ซึ่งต่างจากประเภท เทอร์โมพลาสติก ที่โดนความร้อนจะอ่อนตัวเป็นของเหลว